วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4

Scinence Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran

4th
Friday,September12,2557
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ




เพื่อนนำเสนอบทความเกี่บวกับวิทยาศาสตร์
1.บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

บทความของนางสาว นฤมล เล่งเซ้ง
โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ หลักการและความสำคัญ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์


2.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
บทความของนางสาว วรรณนา เอี่ยมวิสุทธิสาร
ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริม 
ทั้ง7 ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต (Obervation skills)
2.ทักษาการจำแนกประเภท (Classification skills)
3.ทักษะการวัด (Measurement skills)
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Interpretive skills)
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space skills)
7.ทักษะการคำนวณ (Numeracy skills)
การทดลองไข่เอ่ยจงนิ่มอุปกรณ์ 
1.แก้ว 1 ใบ
2ไข่ไก่ 1ฟอง
3.น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง

นำไข่ไก่ที่เตรียมใส่ลงไปในแก้วแล้วเทน้ำส้มสายชูใส่ลงไปให้ท่วมไข่ ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน แล้วเทน้ำส้มสายชูออก จากน้ำลองจับไข่ไก่ดู
สรุปผลการทดลองที่ไข่ไก่นิ่มเป็นเพราะน้ำส้มสายชูมีสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้จึงทำให้เปลือกไข่มีลักษณะนิ่ม เพราะไข่ในเปลือกไข่มีแคลเซียม

3.บทความเรื่องแนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล


บทความของนางสาว วอริสรา ภูษิต
       ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบ ดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้" ทั้งนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ



ประยุกต์ใช้อย่างไร
-ทำให้รู้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
-สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปได้ และเป็นแนวทางในการจัดหน่วยการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-และสามรถนำไปเผยแผ่ให้ผู้ปกครองได้รับความรู้ และเด็กสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกับครูได้เป็นอย่างดี



ประเมินผล
ประเมินตนเอง:มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเพื่อนำเสนอบทความและสามารถสรุปได้ว่าเพื่อนแต่ละคนพูด บทความอะไรบ้าง ร่วมทำกิจกรรมตอบคำถามในห้องเรียนอย่างกระตือรือร้นและตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายสรุปบทความอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน:เพื่อนเตรียมบทความที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี มีความพร้อมที่จะนำเสนอได้ดี แต่งกายเรียบร้อย วางรองเท้าเป็นระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความและสิ่งที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์: วันนี้อาจารย์สอนโดยมีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการขยายเนื้อหาเพิ่มเติมและสรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น และอาจารย์ได้ตรวจBloggerของนักศึกษาที่ได้ลิงค์กับอาจารย์ไปบ้างแล้วบางคน และได้เสนอแนะสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น