วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7

Recent Posts

Experiences Management fot Early Choldhood

3 October 2014

Time 13.00 To 16.40 pm


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
1.แกนทิชชู ตัดครึ่งกึ่งกลาง
2.ไหมพรม
3.สีเมจิก
4.กระดาษ



 วิธีทำ                                               1.ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน

2.นำแกนทิชชูมาเจาะรูด้านข้าง 2 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ


3.นำไหมพรม ความยาว 1 ช่วงแขนมาร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้ง 2 รู 

4.นำกระดาษมาแบ่งออก 1 แผ่น แบ่งได้ 8 ส่วน แล้ววาดเป็นวงกลม 1 วง 

5.วาดสัตว์ที่ชอบลงไป 1 ภาพในวงกลม ระบายสีให้สวยงาม แล้วตัดให้เป็นวงกลม 

และนำภาพที่วาดติดลงไปในแกนทิชชู ด้านขวาง

วิธีการเล่น
-นำไปคล้องคอแล้วใช้มือทั้งสองข้าง ชักขึ้น-ลง เพื่อให้รูปสัตว์เคลื่อนไหวขึ้น-ลงได้
จากการสังเกตพบว่า เมื่อชักเชือกขึ้น-ลงๆโดยที่ไม่ก้างไหมพรมออก ภาพสัตว์ก็จะไม่ขึ้นสุดไปถึงคอ แต่เมื่อเราก้างไหมพรมออกแล้วชักขึ้น-ลง ปรากฎว่า ภาพสัตว์สามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้



การนำเสนอบทความ



เรื่องที่ 1 การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อ้างอิง

การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถส่งเสริมได้หลายวิธีค่ะ และวิธีหนึ่งที่สามารถส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้นั้น คือ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็ฯหนึ่งกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เด็กได้เรียนรู็ผ่านประสาทสัมพัสทั้ง 5 ในการสังเกต การทดลอง การดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรม เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง การวัด การตวง และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน การวางแผน ไปจนถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์และสถานที่ ทำให้เด็ฏเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยครูมีบทบาทสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ การใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นให้เด็ฏเกิดทักษะคิดวิเคราะห์ การสังเกต การจำแนก การวัด หรือการสท่อความหมาย



 

เรื่องที่ 2 สอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) อ้างอิง

สามารถนำมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ และให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่การสอนลูกเรื่องแสงและเงา หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแสง ซึ้งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้เห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ ดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งกำเนิกแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด สัตว์และพืชบางชนิดมีแสงการเผาใหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ซ เทียนไข น้ำมัน ทำให้เกิดแสง แสงบางชนอดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟ ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป แสงจากดวงอาทืตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพิชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่เราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็ฯสิ่งที่เกิดบนโลกและจักรวาล เป็นประโยชน์ทำให้คนเราดำเนินชีวิตอยู่ได้





เรื่องที่ 3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) อ้างอิง

การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิสทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก ไม่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู๋บนผิสโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติการที่เด็กมองเห็นสิ่งรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมายรวมถึงคำถามของเด็ก การที่เด็ฏได้มีโอกาศตรวจสอบเรื่องแรงโนเมถ่วงจากกิจกรรมง่าย ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดี และเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อไปอีกให้แก่เด็ก การจักกิจกรรมการเรียนรู็ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้





เรื่องที่ 4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) อ้างอิง

การสอนลูกเรื่องไฟฉาย หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ฏปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู๋ในกรอบกับสิ่งที่ให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็รเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็ฏปฐมวัยให้เจริญเติมโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือ เป็นผู้ที่พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัยในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ มีผลให้เกิดเครื่องใช้ที่จำเป็นและ อำนวยความสะดวกให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู็ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็ฯต่ะ


ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

- สามมารถประยุกตร์สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ออกมาให้ดูหน้าสนใจและแปลกใหม่
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็ฏปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดเป็นประสบการณ์ให้เด็กได้ศึกษาศึกษา ทดลองเล่น สังเกต เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ได้อีกด้วย

การประเมิน

ประเมินตนเอง: ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ พร้อมฟังคำชี้แนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข และต้องวางแผนการนำเสนอทุกครั้งอย่างรอบครอบเพื่อไม่ให้เกิดความผืดพลาด และทำให้สมบรูณ์ที่สุด
ประเมินเพื่อน: เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดีนำเสนอบทความด้วยความเข้าใจ แต่เพื่อนบางคนอาจเตรียมความมั่นใจมายังไม่เพียงพอ และต้องพัฒนาตนเอง ให้ดีกว่า
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนทำการทำสิ่งประดิษฐ์ที่ง่ายและเข้าใจง่าย เหมาะที่จะนำความรู้ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้ และอาจารย์ยังบอกนู๋อีกว่าการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ต้องมีความพร้อม มีจินตนาการ ความคิดสร้งสรรค์ มีความคิดที่แปลกใหม่ รู้จักประยุกตร์สิ่งประดิษฐ์ของเราจะต้องมีความอดทน แข็งแรงเมื่อเด็กเล่นจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก มีความปลอด เหมาะกับเด็กปฐมวัย


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น